วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554





      


คะแนนเก็บทั้งหมด 1,750 คะแนน ข้าพเจ้าทำ

ได้ 1,470 คะแนน

และมีจำนวนลายเซ็น / Stamp ชื่อครู 2 ครั้ง

กิจกรรม 9 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน
คำอธิบาย
ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย)") เป็นออร์แกแนลล์ที่ประกอบด้วยโปรตีนและ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้  ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน
การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นโพลีเปบไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว
ที่มา  http://th.wikipedia.org/

คำอธิบาย
การออสโมซิส (อังกฤษ: Osmosis) เป็นกระบวนการแพร่โมเลกุลของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำมาก (สารละลายความเข้มข้นต่ำ) ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำน้อย (สารละลายความเข้มข้นสูง) กระจายจนกว่าโมเลกุลของน้ำจะเท่ากัน เป็นกระบวนการทางกายภาพที่ตัวทำละลายจะเคลื่อนที่โดยไม่อาศัยพลังงาน ผ่านเยื่อเลือกผ่าน (ซึ่งตัวทำละลายจะผ่านเยื่อเลือกผ่านได้ แต่สารละลายจะไม่สามารถผ่านเยื่อเลือกผ่านได้ การออสโมซิสก่อให้เกิดพลังงาน และสามารถสร้างแรงได้การเคลื่อนที่ของตัวทำละลายจะเคลื่อนที่จากสารละลายความเข้มข้นต่ำกว่า ไปยังสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความต่างของความเข้มข้นของสาร แรงดันออสโมติก หมายถึง แรงดันที่ใช้สำหรับการคงดุลยภาพ โดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายอีกต่อไป
การออสโมซิสเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับระบบชีววิทยา โดยเยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน โดยทั่วไปแล้ว เยื่อหุ้มเซลล์จะไม่ยอมให้สารละลายอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ผ่านเข้าออกได้ อย่างเช่น โพลีแซกคาไรด์ ขณะที่น้ำ อากาศและสารละลายที่ไม่มีประจุไฟฟ้าสามารถผ่านเข้าออกได้ ความสามารถในการผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ของสารอาจขึ้นอยู่กับคุณสมบัติในการละลาย ประจุไฟฟ้า หรือคุณสมบัติทางเคมี และขนาดของสารละลายนั้น กระบวนการออสโมซิสเป็นกระบวนการพื้นฐานในการนำน้ำผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์ แรงดันเทอร์เกอร์ของเซลล์จะถูกควบคุมโดยการออสโมซิส
เอนโดไซโทซิส ( endocytosis )

           เป็นการลําเลียงสารตรงกันข้ามกับ เอกโซไซโทซิส คือ เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่
เข้าสู่เซลล์ เอนโดไซโทซิสในสิ่งมีชีวิต
 มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามกลไกการลำเลียง 
เช่น
ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) พิโนไซโทซิส (pinocytosis) และ
การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ (receptor-mediated
  endocytosis)
               ที่มา  http://th.wikipedia.org/

คำอธิบาย
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล(-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (โรคติดแอลกอฮอล์)
เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol(ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)
          ที่มา  http://th.wikipedia.org/

คำอธิบาย
สารละลายบัฟเฟอร์
สารละลายบัฟเฟอร์
  หมายถึง  สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดนั้น  หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้นจะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม    
หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์
  คือเป็นสารละลายที่ใช้ควบคุม  ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย  เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก  เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  นั่นคือสามารถ  รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ  แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก  เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า  buffer capacity                 สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1)
  สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน  (Acid buffer solution)        สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7  เป็นกรด  เช่น                                                 กรดอ่อน  +  เกลือของกรดอ่อนนั้น

                                              CH3COOH  +  CH3COONa                                               HCN  +  KCN                                               H2S  +  Na2S                                                H2CO3  +  NaHCO3  2)  สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน  (Basic buffer solution) 
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH
  >  7  เป็นเบส  เช่น                                                 เบสอ่อน  +  เกลือของเบสอ่อนนั้น

                                                NH3  +  NH4Cl                               NH3  +  NH4NO3                               Fe(OH)2  +  FeCl2                               Fe(OH)3  +  FeCl3
              ที่มา   http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/buffer.htm

คำอธิบาย
ยาปฏิชีวนะคืออะไร
นับแต่ปี พ.ศ.2483 ที่เริ่มมีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดแรก (เพนนิซิลิน) ในการรักษาการติดเชื้อในคนป่วย ซึ่งเป็นวิวัฒนาการก้าวที่สำคัญก้าวหนึ่งทางการแพทย์ ทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อต่างๆ ให้หายได้อย่างน่าอัศจรรย์ แต่ในเวลาไม่นานก็พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ นั้นก็มีวิวัฒนาการปรับตัว ให้สามารถหลบรอดจากการทำลายของยาปฏิชีวนะ ทำให้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้น ทางการแพทย์พบว่า ในพื้นที่ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะกันมากก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสพบเชื้อจุลินทรีย์ที่ดื้อยามากขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยิ่งต้องพยายามค้นหายาปฏิชีวนะตัวใหม่ๆ มาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อดื้อยาเหล่านี้ โดยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันทำให้ได้ยาที่ดีขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องเชื้อโรคที่ดื้อต่อยาได้ทั้งหมด ทำให้ต้องมามองดูว่า อะไรเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เชื้อดื้อต่อยา ซึ่งคำตอบก็คือ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็นและการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกวิธีนั่นเอง จึงได้มีการรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการรักษาโรคติดเชื้อชนิดต่างๆ ทั้งในกลุ่มแพทย์ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เข้าใจถึงประโยชน์ และประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ และรู้จักวิธีใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกวิธี เพื่อลดปัญหาของเชื้อดื้อยา
เชื้อโรคที่เป็นตัวปัญหานั้น แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ซึ่งในการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นก็มุ่งที่การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก ทั้งนี้ เพราะเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ จะเป็นเชื้อที่มีชีวิตและดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง (เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างชัดเจนและมีผนังเซลล์) เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนก็ถือเป็นผู้รุกราน มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้น สร้างสารพิษ ทำลายเนื้อเยื่อและส่วนของร่างกายที่เชื้อเข้าไป ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อของบาดแผล การติดเชื้อปอดบวม ยาปฏิชีวนะมีฤทธิ์ในการทำลายผนังเซลล์ หรือทำลายการทำงานภายในเซลล์ของแบคทีเรีย ทำให้เซลล์ของแบคทีเรียแตกสลาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทำให้การติดเชื้อนั้นหายได้ในที่สุด
ส่วนเชื้อไวรัส นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ต้องอาศัยกลไกการทำงานของเซลล์ร่างกายมนุษย์บางอย่างมาใช้ในการเจริญเติบโต จึงต้องเข้าไปอาศัยในเซลล์ของมนุษย์เพื่อแบ่งตัวและทำลายเซลล์อื่นๆ เช่น ไวรัสเอดส์ ที่เข้าไปอาศัยเซลล์เม็ดเลือดขาวในการเจริญเติบโตหรือไวรัสตับอักเสบ ที่เข้าไปอาศัยในเซลล์ตับ และทำลายเซลล์ของตับด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็มีการคิดค้นยาต้านไวรัสบางชนิดขึ้นมาใช้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว การติดเชื้อไวรัสโดยทั่วไป ยังไม่มียารักษา และต้องการความเข้มแข็งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในการขจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกาย เช่น ในกรณีของเชื้อไวรัสหวัด ที่ทำให้เกิดอาการหวัดคัดจมูก ซึ่งจะหายเองได้ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้นๆ ขึ้น ดังนั้นโดยทั่วไปถ้ามีการติดเชื้อไวรัสแล้ว การให้ยาปฏิชีวนะจะไม่ได้ผล ไม่ว่าจะใช้ยาปฏิชีวนะที่ดีที่สุดในการรักษาก็ตาม
สำหรับเชื้อรา นั้นก็คล้ายๆ กับเรื่องของเชื้อแบคทีเรีย แต่เนื่องจากปัญหาการติดเชื้อรานั้น พบน้อยในคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี จึงไม่ค่อยเป็นปัญหานัก
            ที่มา  http://www.elib-online.com/doctors46/drug_antibiotic001.html

คำอธิบาย
แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region
              ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki

คำอธิบาย
น้ำกลั่น น้ำบริสุทธิ์ที่คู่ควร
             ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำมากถึง 70 % เนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบของเซลล์ทุกเซลล์  และในการทำงานของเซลล์ต่างๆจำเป็นต้องใช้น้ำ    ถ้าเราบริโภคอาหารประเภทพืชผัก ผลไม้สด เราจะได้รับน้ำจำนวนมากเนื่องจากในอาหารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำประมาณ 80 %  แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่ได้บริโภคเฉพาะพืชผักเท่านั้น ดังนั้นมนุษย์เราจึงจำเป็นต้องดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของร่างกาย  เนื่องจากในชีวิตประจำวันของเรา เราสูญเสียผ่านทางผิวหนัง การขับถ่าย การหายใจและนอกจากนี้เมื่อเราออกกำลังกาย หรือในภาวะอากาศร้อน ร่างกายก็จะสูญเสียน้ำมากขึ้น
                ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ คุณจะสังเกตได้ง่ายว่าปากจะแห้ง  นอกจากนี้ยังทำให้หน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดหัว กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตะคริว ซึมเศร้า หงุดหงิด  เบื่ออาหาร  ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงว่าขณะนี้เซลล์กำลังขาดน้ำ
                สำหรับผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำวันละประมาณ 2-3 ลิตรหรือ 8 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ปริมาณดังกล่าวยังแปรผันตามปัจจัยหลายๆอย่างได้แก่ น้ำหนักตัว  ขนาดร่างกาย  อุณหภูมิภายนอก  ความชื้น การออกกกำลังกาย และกิจกรรมที่ทำ  นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วเครื่องดื่มบางประเภท อาทิเช่น ชา  กาแฟ  น้ำอัดลมที่ผสมคาเฟอีน  เบียร์  ไวน์  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยังทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งทำให้ความต้องการน้ำมากขึ้นด้วยเช่นกัน  แต่ทั้งนี้การดื่มน้ำในมื้ออาหารไม่ควรดื่มในปริมาณมากเนื่องจากจะทำให้น้ำย่อยที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารเจือจางลงและทำให้อาหารเคลื่อนตัวเร็ว ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้เต็มที่   ดังนั้นเราจึงควรดื่มน้ำก่อนและหลังอาหารประมาณ 15-20 นาที
                น้ำดื่มที่ดีที่สุดสำหรับเราคือน้ำบริสุทธิ์ซึ่งปราศจากสิ่งปนเปื้อนทุกชนิด  ในขณะที่น้ำประปานั้นจะพบคลอรีน เรดอน สารหนูและสารเคมีบางอย่าง ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย    สำหรับน้ำกรอง น้ำแร่ น้ำใต้ดินนั้นก็มีสารเคมีบางอย่างที่ร่างกายไม่ต้องการเช่นกัน  และสำหรับแร่ธาตุในน้ำแร่นั้นเป็นแร่ธาตุอนินทรีย์ซึ่งร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งการดื่มน้ำแร่นั้นเท่ากับเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ร่างกายเนื่องจากร่างกายต้องสูญเสียพลังงานส่วนหนึ่งเพื่อใช้กำจัดแร่ธาตุเหล่านี้ออกจากร่างกาย    ดังนั้นน้ำบริสุทธิ์ที่ดีที่สุดคือ น้ำฝนหรือน้ำกลั่นซึ่งปราศจากสารปนเปื้อนและสารเคมีอื่นใด  นอกจากนี้น้ำกลั่นยังช่วยนำพาแร่ธาตุอนินทรีย์ออกจากร่างกายอีกด้วย
                น้ำกลั่นตามธรรมชาติคือ น้ำฝน ซึ่งมาจากแหล่งน้ำบนโลกซึ่งระเหยกลายเป็นไอและจับตัวเป็นก้อนเมฆซึ่งจะเกิดการควบแน่นจากไอกลายเป็นหยดน้ำอีกครั้งในรูปของน้ำฝนหรือหิมะ   แต่น้ำฝนในกรุงเทพนั้นเป็นน้ำที่มีการปนเปื้อนจากมลภาวะในอากาศจึงไม่เหมาะแก่การดื่ม
                น้ำกลั่นเป็นน้ำที่ไม่มีรสชาติและมีความหนืดต่ำจึงสามารถที่จะซึมผ่านเซลล์และช่องว่างต่างๆได้ดี  นอกจากนี้ยังสามารถชะล้างสารพิษและนำพาสารพิษเหล่านั้นออกจากเซลล์ ผ่านไปตามระบบน้ำเหลืองเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย  ดังนั้นการดื่มน้ำกลั่นจึงเป็นการช่วยเพื่อความชุ่มชื้นให้แก่เซลล์และยังช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อีกทางหนึ่ง
                นอกจากน้ำกลั่นแล้ว ผักผลไม้สดก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งของน้ำบริสุทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เราจึงจัดว่าน้ำผัก-ผลไม้เป็นอาหารชั้นเยี่ยมอย่างหนึ่งที่ควรจะดื่มเป็นประจำ
น้ำกลั่นเป็นน้ำที่ปราศจากแร่ธาตุ จึงไม่เหมาะแก่การบริโภคจริงหรือ
                ถึงแม้ว่าน้ำกลั่นจะเป็นน้ำบริสุทธิ์ ปราศจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย สารปนเปื้อน โลหะหนัก สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ทุกชนิด และนั่นก็หมายถึงในน้ำกลั่นไม่มีแร่ธาตุใดๆทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย   แต่ทั้งนี้เราก็ยังได้รับแร่ธาตุที่จำเป็นจากอาหารที่เรารับประทาน อันได้แก่ ผัก ผลไม้สด ธัญญาหาร ถั่ว   ดังนั้นการดื่มน้ำกลั่นเป็นประจำร่วมกับการรับประทานอาหารสดจากธรรมชาติจึงไม่ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุแต่อย่างใด  นอกจากนี้แร่ธาตุที่อยู่ในน้ำแร่ยังเป็นแร่อนินทรีย์ที่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
การดื่มน้ำกลั่นจะชะล้างแร่ธาตุออกจากเซลล์จริงหรือ
                หลายคนอาจสงสัยว่าการดื่มน้ำกลั่นซึ่งเป็นน้ำบริสุทธิ์ไม่มีแร่ธาตุใดๆจะทำให้แร่ธาตุที่อยู่ในเซลล์เคลื่อนออกจากเซลล์หรือไม่  คำตอบก็คือ ไม่ เนื่องจากน้ำกลั่นหรือน้ำบริสุทธิ์จะค่อนข้างเฉื่อยและไม่สามารถทำปฏิกิริยากับร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ทำให้แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งอยู่ภายในเซลล์เคลื่อนออกจากเซลล์  นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติของน้ำกลั่นที่มีความหนืดต่ำยังช่วยนำพาของเสียรวมทั้งแร่ธาตุอนินทรีย์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายออกจากเซลล์เพื่อขับออกทางเหงื่อ การหายใจ และปัสสาวะ
           ที่มา   http://www.goodhealth.co.th/new_page_73.htm

คำอธิบาย
คลอโรพลาสต์ (อังกฤษ: Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ขนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella)
คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติคไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่
ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อิกเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้
ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที่สุด

คลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา มีเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากนี้ด้านในของคลอโรพลาสต์ ยังมีเยื่อไทลาคอยด์ ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม และส่วนที่ไม่ทับซ้อนกันอยู่เรียกว่า สโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมดและคลอโรฟิลล์จะอยู่บนเยื่อไทลาคอยด์มีช่องเรียก ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน
นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสต์ยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย ทำให้คลอโรพลาสต์สามารถจำลองตัวเองขึ้นมาใหม่และผลิตเอนไซม์ไว้ใช้ในคลอโรพลาสต์ในคลอโรพลาสต์เองได้คล้ายกับไมโทคอนเดรีย
              ที่มา  http://th.wikipedia.org/

คำอธิบาย
ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง
ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอ
ที่มา  http://th.wikipedia.org/

คำอธิบาย
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน[1] เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ

ชนิดและอาการ

ธาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แอลฟาธาลัสซีเมีย และ เบต้าธาลัสซีเมีย ซึ่งก็คือ ถ้ามีความผิดปกติของสายแอลฟา ก็เรียกแอลฟาธาลัสซีเมีย และถ้ามีความผิดปกติของสายเบต้าก็เรียกเบต้าธาลัสซีเมีย
เบต้าธาลัสซีเมีย เบต้าธาลัสซีเมียจะเกิดขึ้นเมื่อสายเบต้าในเฮโมโกลบินนั้นสร้างไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเฮโมโกลบินจึงขนส่งออกซิเจนได้ลดลง ในเบต้าธาลัสซีเมียสามารถแบ่งออกได็เป็นหลายชนิดย่อย ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของยีนส์ในการสร้างสายเบต้า
แหล่งระบาดของเบต้าธาลัสซีเมียได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบเมดิเตอเรเนียน
ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ 1 สาย (จากสายเบต้า 2สาย) อาจจะมีภาวะซีดเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ทั้ง 2 สาย (จากสายเบต้าทั้ง2สาย) ภาวะซีดอาจมีความรุนแรงได้ปานกลางถึงมาก ในกรณีนี้เกิดจากได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่
ถ้ามีภาวะซีดปานกลาง จำเป็นต้องได้รับเลือดบ่อยๆ โดยปกติแล้วสามารถมีชีวิตได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ถ้ามีภาวะซีดที่รุนแรงมักจะเสียชีวิตก่อนเนื่องจากซีดมาก ถ้าเป็นรุนแรงอาการมักจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 เดือนแรกหลังเกิด แต่ถ้าเด็กได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่แรกเริ่มก็มักจะมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็มักจะเสียชีวิตเนื่องจากอวัยวะต่างๆถูกทำลาย เช่นหัวใจ และตับ
แอลฟาธาลัสซีเมีย แอลฟาธาลัสซีเมีย เกิดขึ้นเนื่องจากเฮโมโกลบินในสายแอลฟามีการสร้างผิดปกติ โดยปกติแล้วจะมีแหล่งระบาดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ได้แก่ ไทย จีน ฟิลิปปินส์ และบางส่วนของแอฟริกาตอนใต้
ความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างสายแอลฟา โดยปกติแล้วสายแอลฟา 1 สายจะกำหนดโดยยีน 1 คู่ (2ยีน) ดังนี้
ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 1 ยีน จะไม่มีอาการใดๆ แต่จะเป็นพาหะที่ส่งยีนนี้ไปยังลูกหลาน ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 2 ยีน จะมีภาวะซีดเพียงเล็กน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 3 ยีน จะเกิดภาวะซีดได้ตั้งแต่รุนแรงน้อย จนถึงรุนแรงมาก บางครั้งเรียกว่าเฮโมโกลบิน H ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 4 ยีน จะเสียชีวิตภายในระยะเวลาสั้นๆภายหลังจากเกิดออกมา เรียกว่า เฮโมโกลบินบาร์ต

อาการ

จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะ หักง่าย ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ แคระแกร็น ท้องป่อง ในประเทศไทยมีผู้เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 ของประชากรหรือประมาณ 6 แสนคน
โรคเลือดจางธาลัสซีเมียมีอาการตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ จนถึงมีอาการรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน ผู้ที่มีอาการจะซีดมากหรือมีเลือดจางมาก ต้องให้เลือดเป็นประจำ หรือมีภาวะติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีไข้เป็นหวัดบ่อยๆ ได้ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของธาลัสซีเมียซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแอลฟา-ธาลัสซีเมีย และเบต้า-ธาลัสซีเมีย
        ที่มา  http://th.wikipedia.org/